ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
ศิลปะการต่อสู้ แม่ไม้มวยไทย ที่อยู่คู่กับชาวไทยมาอย่างยาวนานทุกยุคทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทยที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น เป็นทั้งกีฬาและการต่อสู้ป้องกันตัว และยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามวยไทยมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ยุคสมัยใด มวยไทยมีการใช้มาตั้งแต่สงครามในสมัยก่อนตั้งแต่สมัยอยุธยา มีเทคนิคการต่อสู้ที่หลากหลายและความโดดเด่นเรื่องอาวุธ ซึ่งใช้ทั้งใจและกายในการต่อสู้ จะใช้ร่างกายทุกส่วนตั้งหัวจดดเท้าเป็นอาวุธ เช่น หมัด เท้า เข่า ศอก ซึ่งรู้จักกันอย่างดีว่าเป็น นวอาวุธ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ของไทย เช่นเดียวกับยูโดคาราเต้และกังฟู และเทควันโดซึ่งมีที่มาเช่นเดียวกัน
ศิลปะแม่ไม้มวยไทย

มวยไทยได้รับความนิยมเป็นกีฬาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงศึกษาฝึกฝนการชกมวยและจัดการแข่งขันมวยหน้าพระที่นัง แล้วมวยไทยจะมีท่าหลากหลายมากมาย ซึ่งเรียกกันว่า แม่ไม้มวยไทย
แม่ไม้มวยไทย มีท่าอะไรบ้างไปทำความรู้จักกัน
แม่หมายมวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ที่สำคัญที่สุดของมวยไทย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการใช้ท่ามวยไทยต่างๆ และผู้ฝึกต้องเรียนรู้เบื้องต้น และต้องฝึกอย่างหนักเพื่อให้ความชำนาญในการใช้ท่าต่างๆ ของแม่ไม้มวยไทย และต่อมาเราจะฝึกท่าลูกไม้มวยไทย ซึ่งเป็นท่าที่ละเอียดและยากกว่าเดิมยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันถ้ามวยไทยมีมากมายหลากหลายท่า ซึ่งบางที่มากล่าวว่ามีจำนวนถึง 385 ท่า แต่ได้ระบุพื้นฐานเกี่ยวกับท่ามวยไทยอย่างเป็นทางการทั้งหมดแล้วว่าศิลปะแม่ไม้มวยไทยมีทั้งหมด 15 กระบวนท่า
แม่ไม้มวยไทย ทั้งหมด 15 กระบวนท่า
ซึ่งในประวัติศาสตร์มีการอ้างอิงถึงสมเด็จพระเจ้าเสือ ว่าเป็นผู้คิดค้นกระบวนท่าของ ศิลปะแม่ไม้มวยไทย ในแบบฉบับของพระเจ้าเสือ และมีการทำเป็นตำราอย่างเป็นทางการเพื่อถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลัง ซึ่งมีการดัดแปลงเป็นท่าพื้นฐานทั้งหมด 15 กระบวนท่า มีดังนี้
1.ชวาซัดโหด
2.ปักษาแหวกรัง
3.สลับฟันปลา
4.ตาเถรค้ำฝัก
5.อิเหนาแทงกริช
6.ยอเขาพระสุเมรึ
7.จระเข้ฟาดหาง
8.หักงวงไอยรา
9.ปักลุกทอย
10.มอญยันหลัก
11.นาคาบิดหาง
12.หักคอเอราวัณ
13.ขันยักษ์จับลิง
14.ดีบชวาลา
15.วิรุฬหกกลับ